บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
กับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนศึกษานิเทศพ่อแม่ผู้ปกครองชุมชนองค์กรสถาบันวิชาการหน่วยงานและสื่อมวลชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 มาตราที่ 24 กำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจนโดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการ
2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยความสะดวก
4. พัฒนาสภาพแวดล้อม
5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน
บทบาทของครูผู้สอน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิด
2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และวัดประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอนนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
5. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
6. ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาและยอมรับ เข้าใจตนเอง
7. ให้คำปรึกษาด้านการเรียน ชีวิต และแนวทางการพัฒนาตนเอง
8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะ รู้ข้อดีข้อเสียของตน
9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหา
10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเอง
11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินตนเอง
12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน
บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
2. ให้ความรักและความอบอุ่น
3. ให้อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่สร้างสุขนิสัยที่ดี
4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสำนึกในเรื่องวินัยตนเอง
5. สร้างบรรยากาศเรียนรู้ในบ้าน
6. ให้คำปรึกษาและแนะนำเสริมแรง
7. ร่วมมือกับโรงเรียน
8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
2. ให้ความร่วมมือระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ร่วมมือสร้างสรรค์ในการพัฒนาการศึกษา
4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษา
5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็ก
บทบาทของผูเรียน
ความมุ่งหวังของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะเก่ง ดี มีความสุข ดังนั้นบทบาทของเรียนควรมีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายของการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถ
2. มีส่วนร่วมในการจัดแผนกระบวนการเรียนรู้
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
4. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา
5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการศึกษา
6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7. ศรัทธาต่อผู้สอน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.